โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

クッション言葉 คำศัพท์สำหรับใช้เอาตัวรอดในที่ทำงาน 

  クッション言葉 เป็นคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนวัยทำงาน ที่จะช่วยให้ชาวออฟฟิศเอาตัวรอดได้ง่ายขึ้น 

 เวลาที่เราทำงานก็ต้องมีสักครั้งที่เราทำงานพลาด ทำงานช้า หรือมีความจำเป็นต้องเลื่อนเวลาการประชุมกับลูกค้า ซึ่งในกรณีแบบนี้หากบอกกับอีกฝ่ายตรง ๆ ว่างานยังไม่เสร็จครับ หรือขอเลื่อนเวลานัดไปสามชั่วโมงนะครับ คงจะไม่ได้อะไรกลับมานอกเสียจากคำต่อว่าเป็นแน่ 

  เพราะฉะนั้นเราจึงควรรู้จัก クッション言葉 (Kusshon kotoba) ภาษาที่ถูกนำมาใช้ทั้งในการทำงาน และชีวิตประจำวัน เพื่อเป็นตัวช่วยในการเพิ่มความนุ่มนวลให้กับประโยคของเรามากขึ้น 

สารบัญเนื้อหา

クッション言葉 คืออะไร

  クッション言葉 คือคำที่จะอยู่หน้าประโยคเมื่อทำการขอร้อง ปฏิเสธ โต้แย้ง หรือการถามคำถาม เรียกได้ว่าสามารถใช้ได้แทบทุกสถานการณ์ จึงพบได้ทั้งในบทสนทนาชีวิตประจำวันและบทสนทนาธุรกิจ ซึ่งคำเหล่านี้จะช่วยให้ ความรู้สึกของประโยคดูอ่อนลง  

  クッション言葉 หรือในภาษาญี่ปุ่นที่เรียกอีกอย่างว่า ビジネス枕詞 (Bijinesu makura kotoba) หากแปลเป็นภาษาไทยก็จะเป็น หมอน/เบาะสำหรับธุรกิจ  

  เพราะมันเป็นคำนำหน้าที่จะช่วยเป็นเบาะลดแรงกระแทก(ที่อาจจะเกิด) ลดความรุนแรงของประโยคให้ดูมีความถ่อมตัว มีความรู้สึกผิด หรือมีความเคารพต่ออีกฝ่าย ก่อนที่จะถ่ายทอดข้อความหลักที่เราต้องการจะบอก และทำให้การสื่อสารราบรื่นขึ้น 

  ในการทำงานอาจมีบางครั้งที่เราต้องพูดในเรื่องที่ยากจะพูด อย่างเช่น การขอให้ใครสักคนทำบางอย่างในตอนที่พวกเขากำลังยุ่ง หรือการบอกปฏิเสธคำขอหรือคำชวนจากคนอื่น  

  ซึ่งการใช้ クッション言葉 ในสถานการณ์แบบนี้ก็จะช่วยให้เราสามารถพูดในสิ่งที่ต้องการจะสื่อได้โดยไม่ดูหยาบคายนั่นเองครับ 

クッション言葉 คืออะไร

クッション言葉 ช่วยเปลี่ยนความประทับใจในบทสนทนาได้แค่ไหน?

  จะบอกว่า クッション言葉 เป็นเหมือนกับเวทมนต์ที่จะช่วยลดความตึงเครียดในบทสนทนาของคุณก็ไม่ผิดนัก เพราะมันสามารถเปลี่ยนความประทับใจในบทสนทนาได้มาก อย่างเช่นบทสนทนาข้างล่างนี้

senshuu o negai shita repoto wa deki te irasshaimasu ka

先週お願いしたレポート出来ていらっしゃいますか

(รายงานที่ขอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเสร็จหรือยังครับ?)

repoto ha mada deki te orimasen. shikashinagara, Asatte no kaigou toki ni wa kanseishita mono wo mochishimasu 

レポートまだ出来ておりませんしかしながら明後日会合時には完成したしま 

(รายงานยังไม่เสร็จครับ อย่างไรก็ตามผมจะนำฉบับที่เสร็จแล้วไปเข้าร่วมประชุมในวันมะรืนนี้ครับ) 

ศัพท์ภาษาญี่ปุ่น

  จุดประสงค์หลักของประโยคนี้คือต้องการบอกกับอีกฝ่ายว่า รายงานยังไม่เสร็จ แต่การบอกไปตรง ๆ เลยแบบนี้จะทำให้รู้สึกว่าอารมณ์ของบทสนทนาค่อนข้างตรงไปตรงมา 

  แต่เมื่อเราใส่ クッション言葉 ไว้นำหน้าประโยค บทสนทนาจะต่างจากเดิมอย่างไร ลองไปดูกัน 

senshuu o negai shita repoto wa deki te irasshaimasu ka

先週お願いしたレポート出来ていらっしゃいますか

(รายงานที่ขอเมื่อสัปดาห์ที่แล้วเสร็จหรือยังครับ?)

moushiwake gozaimasen ga, repoto wa mada deki te orimasen, 
shikashinagara, Asatte no kaigou toki ni wa kanseishita mono wo mochishimasu no de, go anshin kudasai 

申し訳ございませんがレポートはまだ出来ておりません
しかしながら明後日会合時には完成した物を持ちしますので安心下さい 

(ต้องขอประทานโทษด้วยจริงครับ รายงานยังไม่เสร็จแต่อย่างไรก็ตาม
ผมจะนำฉบับที่เสร็จแล้วไปเข้าร่วมประชุมในวันมะรืนนี้ครับ
โปรดวางใจได้ครับ)

ศัพท์ภาษาญี่ปุ่น クッション言葉

  จากที่เห็นในบทสนทนาข้างต้น สิ่งที่ต้องการสื่อยังคงเหมือนเดิมนั่นคือ รายงานยังไม่เสร็จ แต่เราเพิ่มความรู้สึกผิดและใส่การแสดงอารมณ์เพิ่มความมั่นใจให้แก่อีกฝ่ายในตอนจบประโยค เพียงแค่นี้ก็ทำให้บรรยากาศของบทสนทนานี้แตกต่างจากบทสนทนาแรกมากแล้ว 

สถานการณ์แบบไหนที่ クッション言葉 มีประโยชน์?

  การใช้คำศัพท์ クッション言葉 ให้มีประโยชน์สูงสุดนั้นไม่ใช่แค่เมื่อใช้ในธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงในชีวิตประจำวันด้วย  

  และไม่ว่าจะเป็นการสนทนาแบบไหนก็สามารถใช้ クッション言葉 ได้ทั้งนั้น เช่นการคุยแบบต่อหน้า คุยผ่านโทรศัพท์ หรือแม้แต่การส่งข้อความผ่านอีเมลก็ตาม 

  แล้วสถานการณ์แบบไหนบ้างที่ クッション言葉 จะมีประโยชน์สูงสุด มาดูกัน 

เมื่อทำการร้องขอ

  หากเราต้องการพูดเพื่อขอให้หัวหน้า รุ่นพี่ เพื่อนร่วมงาน ลูกค้า หรือหุ้นส่วนทางธุรกิจทำบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่าในจังหวะที่เราไปขอร้องพวกเขานั้น พวกเขามีงานยุ่งอยู่แล้ว 

  ในสถานการณ์แบบนี้ คงเป็นความคิดที่ดีกว่าที่เราจะใช้คำศัพท์ของ クッション言葉 เข้ามาช่วยเป็นเบาะรับแรงกระแทก(ที่อาจจะเกิด) และเป็นการแสดงออกถึงการขอโทษที่ต้องรบกวน หรือสื่อว่าเราเข้าใจว่าพวกเขากำลังยุ่งอยู่  

ตัวอย่างเช่น 

「ご面倒でなければ」 

[Go mendou de nakereba – ถ้าไม่เป็นการรบกวน]  

หรือ  

「お忙しい中恐れ入りますが」 

[O isogashii naka osore irimasu ga – ต้องขออภัยในความไม่สะดวก / ขอโทษที่มารบกวนตอนกำลังยุ่ง] 

  เพื่อเป็นการบอกให้ผู้ฟังเข้าใจว่าเราเข้าใจสถานการณ์ของพวกเขา ผู้ฟังจะได้ไม่รู้สึกไม่สบายใจหรือไม่พอใจกับคำขอของเรา 

เมื่อทำการปฏิเสธ

  หากมีสถานการณ์ที่เราต้องปฏิเสธคำชวนของรุ่นพี่ หัวหน้า หรือลูกค้า แต่ไม่รู้จะพูดอย่างไรให้ดูไม่ห้วน หรือกลัวพูดแล้วทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจจนอาจกระทบกับความสัมพันธ์ในอนาคต 

  การนำ クッション言葉 มาใช้ก็ถือว่าเป็นทางออกที่ดี เพื่อเป็นการแสดงออกว่าเรารู้สึกแย่ที่ต้องปฏิเสธการชวนนี้ หรือเรารู้สึกขอบคุณสำหรับคำเชิญนี้ 

ตัวอย่างเช่น

「せっかくのご招待ですが」 

 [Sekkaku no goshoutai desu ga – ขอบคุณสำหรับคำเชิญนะครับ/คะ แต่ว่า] 

หรือ

「誠に申し訳ございませんが」 

 [Makoto ni moushiwake gozaimasen ga – ต้องขอโทษด้วยจริง ๆ นะครับ/คะ แต่ว่า] 

  การใช้ クッション言葉 แบบข้อความข้างต้นพูดนำหน้าประโยคปฏิเสธก็จะทำให้บทสนทนาของเราดูไม่ห้วน ดูมีความรู้สึกผิดหรือรู้สึกขอบคุณที่ได้รับคำเชิญ ทำให้ผู้ฟังไม่รู้สึกแย่กับการปฏิเสธของเรา  

  และหลังจากปฏิเสธแล้ว เราสามารถพูดต่อได้ว่า 

「またの機会がありましたらよろしくお願いいたします」 

 [Mata no kikai ga arimashitara yoroshiku onegai itashimasu – ถ้ามีโอกาสหน้าขอฝากตัวด้วย / รบกวนด้วยนะครับ/คะ] 

  เป็นการบอกให้อีกฝ่ายรู้ว่า เราจำเป็นต้องปฏิเสธในครั้งนี้จริง ๆ และเราต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีนี้เอาไว้ ทำให้การปฏิเสธของเราไม่น่าอึดอัดและไม่ทำให้ฝ่ายตรงข้ามไม่พอใจเรา 

เมื่อทำการเสนอหรือถาม

  ในสถานการณ์ที่เราต้องการถามบางสิ่งกับผู้อื่น หรือการเสนอสิ่งที่เราไม่รู้ว่าอีกฝ่ายต้องการไหม การนำ クッション言葉 มาใช้จะช่วยทำให้บทสนทนาราบรื่นขึ้น 

ตัวอย่างเช่น

「もしよろしければ」  

[Moshiyoroshikereba – ถ้าคุณไม่รังเกียจ] 

หรือ

「差し支えなければ」 

 [Sashitsukaenakereba – หากไม่เป็นการรบกวนเกินไป] 

  คำศัพท์เหล่านี้จะเปิดโอกาสให้อีกฝ่ายปฏิเสธได้ถ้าพวกเขาไม่ต้องการ ช่วยลดบรรยากาศน่าอึดอัดใจในบทสนทนาลงไปได้มาก สามารถใช้เพื่อถามข้อมูลจากอีกฝ่ายในการประชุม หรือใช้ในชีวิตประจำวันก็ได้เช่นกัน

เมื่อต้องโต้แย้ง หรือ แสดงความคิดเห็น

  ในการทำงานนอกจากเราต้องรับฟังความคิดเห็นคนอื่นแล้ว เราต้องมีการแสดงความคิดเห็น หรือโต้แย้งเมื่อรู้สึกว่าสิ่งที่อีกฝ่ายพูดมีจุดผิดพลาดบางอย่างด้วย เพื่อให้งานสามารถไปต่อได้ 

  แต่ถ้าหากอีกฝ่ายเป็นรุ่นพี่ หัวหน้า หรือลูกค้า เราก็คงมีกังวลกันบ้างว่าการที่เราไปเสนอความคิดเห็นในแผนของพวกเขา จะทำให้พวกเขาไม่พอใจไหม ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ การนำ クッション言葉 มาพูดนำก่อนเข้าประโยคหลัก ก็จะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด  

ตัวอย่างเช่น 

「差し出がましいことを申すようですが」 

 [Sashidegamashii koto wo mousu you desu ga – ขอโทษนะครับ/คะ หากมีคำพูดที่ดูไม่เหมาะสม แต่ว่า] 

หรือ 

「出過ぎたことを申しますが」 

 [Desugita koto wo moushimasu ga – ต้องขอโทษหากพูดตรงเกินไปนะครับ/คะ แต่ว่า] 

  ในสถานการณ์ที่น่าอึดอัดใจแต่จำเป็นต้องเสนอความคิดเห็นหรือโต้แย้งมุมมองที่ต่างกัน การพูดนำหน้าเนื้อหาหลักที่เราต้องการจะพูดด้วยประโยคข้างบน ฝ่ายที่กำลังฟังเราก็จะเตรียมตัวรับฟังความคิดเห็นของเรามากขึ้น ทำให้บรรยากาศของบทสนทนาที่กำลังเกิดขึ้นอ่อนลงนั่นเองครับ

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น クッション言葉 สำหรับใช้ร้องขอ

  เมื่อต้องการร้องขอ หรือขอร้องให้อีกฝ่ายทำบางสิ่งให้ในเวลาที่อีกฝ่ายเองก็กำลังมีงานอยู่ในมืออยู่แล้ว สามารถใช้คำศัพท์ด้านล่างพูดนำหน้าประโยคที่ต้องการจะขอร้อง เพื่อแสดงความกังวล หรือความรู้สึกขอโทษให้อีกฝ่ายรับรู้ได้ 

恐れ入りますが  O sore irimasu ga ขออภัย / ขอโทษนะครับ 
お手数をおかけしますが  O tesuu wo okakeshimasu ga  ขออภัยในความไม่สะดวก 
ご面倒でなければ  Go mendou de nakereba  ถ้าไม่เป็นการรบกวน 
お忙しい中恐れ入りますが 

O isogashii naka osore irimasu ga 

ขอโทษที่รบกวนในตอนที่กำลังยุ่งนะครับ/คะ 
もし可能であれば  Moshi kanou de areba  ถ้าเป็นไปได้ 
ご多忙中とは存じますが  Go tabo-chuu to wa zonjimasu ga  ฉันเข้าใจว่าคุณยุ่งมาก 

  คำศัพท์ข้างบนนี้คือ クッション言葉 ที่เราสามารถใช้นำหน้าประโยคร้องขอของเราได้ นอกจากจะใช้ในการพูดสนทนาได้แล้ว ยังสามารถใช้กับการเขียนอีเมลได้ด้วย เช่น เราต้องการให้อีกฝ่ายตอบอีเมลของเรากลับภายในวันที่กำหนด ก็สามารถเขียนแจ้งได้ว่า 

お忙しい中恐れ入りますが、10日までにご返信いただきたく存じます。」 

 [O isogashii naka osoreirimasuga, Touka made ni go henshin itadakitaku zonjimasu – ขอโทษที่รบกวนในตอนที่กำลังยุ่งนะครับ รบกวนช่วยตอบกลับภายในวันที่ 10 ด้วยนะครับ]

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น クッション言葉 สำหรับใช้ปฏิเสธ

  ในเวลาที่ต้องปฏิเสธคำขอหรือคำชวนจากคนอื่น เช่น หัวหน้า หรือ รุ่นพี่ หากพูดปฏิเสธไปตรง ๆ คงทำให้บทสนทนาดูห้วน ให้ความรู้สึกเย็นชาไม่น้อย ซึ่งปัญหานี้ในภาษาญี่ปุ่นและภาษาไทยก็มีไม่ต่างกัน 

  ดังนั้นการใช้ クッション言葉 เพื่อสื่อว่าเราจำเป็นต้องปฏิเสธ หรือเรารู้สึกเสียใจที่ต้องปฏิเสธ ก็จะทำให้บรรยากาศของบทสนทนานั้นดูเบาลงไปเยอะ 

あいにくですが Ainiku desu ga น่าเสียดายที่ต้องบอกว่า…
残念ですが Zannen desu ga น่าเสียดายแต่
せっかくのご招待ですが Sekkaku no go shoutai desu ga ขอบคุณสำหรับคำเชิญแต่ว่า…
お気持ちはありがたいのですが Okimochi wa arigatai no desu ga ขอบคุณสำหรับความรู้สึกของคุณนะครับ/คะ แต่ว่า….
誠に申し訳ございませんが Makoto ni moushiwake gozaimasen ga ต้องขอโทษด้วยจริง ๆ ครับ/ค่ะ แต่ว่า…..
ご期待に添えず申し訳ありませんが Go kitai ni soezu moushiwake arimasen ga ขออภัยที่ไม่สามารถตอบสนองความคาดหวังของคุณได้ / ขออภัยที่ไม่สามารถทำตามความต้องการของคุณได้

  คำศัพท์เหล่านี้มีไว้สำหรับช่วยให้การปฏิเสธของเราดูอ่อนน้อมมากขึ้น ถ้าถูกชวนไปงานเลี้ยงโดยรุ่นพี่แต่เราไม่อยากไปเสียเท่าไหร่ ก็สามารถนำมาใช้บอกปฏิเสธได้ว่า 

残念ですが、今日の夕方は予定があり、参加することができません。」 

[Zannen desu ga, kyou no yuugata wa yotei ga ari, Sanka suru koto ga dekimasen – น่าเสียดายจังครับ แต่ว่าวันนี้ตอนเย็นผมมีธุระ คงไปเข้าร่วมด้วยไม่ได้ครับ] 

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น クッション言葉 สำหรับใช้เสนอหรือถาม

  เมื่อเสนอความช่วยเหลือหรือถามคำถามกับอีกฝ่าย หลาย ๆ ครั้งเรามักลืมสังเกตการพูดของตัวเองจนกลายเป็นว่า เรากำลังบังคับให้อีกฝ่ายรับการช่วยเหลือจากเรา หรือต้องตอบคำถามของเรา ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วเราไม่ได้มีความตั้งใจแบบนั้นเลย
もしよろしければ Moshi yoroshi kereba ถ้าไม่รังเกียจ
差し支えなければ Sashi tsukae nakereba ถ้าไม่เป็นการรบกวน
お尋ねしたいのですが Otazune shitai no desu ga ขอถามหน่อยนะครับ/คะ

  หากเราต้องการถามข้อมูลอีกฝ่ายเพิ่มเติม เราก็สามารถนำคำศัพท์ด้านบนมาใช้ได้เช่นกัน โดยหากต้องการทราบชื่อของลูกค้าที่ติดต่อเข้ามา เราสามารถถามได้ว่า 

差し支えなければ、お名前をうかがってもよろしいですか。」 

[Sashitsukaenakereba, O namae wo ukagatte mo yoroshii desu ka – ถ้าไม่รังเกียจ ขอทราบชื่อได้ไหมครับ/คะ] 

คำศัพท์ภาษาญี่ปุ่น クッション言葉 สำหรับใช้โต้แย้งหรือเสนอความคิดเห็น

  การจะโต้แย้งหรือเสนอความคิดเห็นในที่ประชุม หรือกับลูกค้าที่เราติดต่อด้วย สิ่งสำคัญคือการแสดงออกว่าเรากำลังพูดโดยที่รู้จุดยืนของเรา เพราะฉนั้นเราจึงควรใช้ クッション言葉 เพื่อเกริ่นนำก่อนพูดความคิดเห็นของเรา อีกฝ่ายจะได้เตรียมพร้อมรับฟังเราด้วย
差し出がましいことを申すようですが Sashide gamashii koto wo mousu you desu ga ขอโทษนะครับ/คะ หากมีคำพูดที่ดูไม่เหมาะสม แต่ว่า
出過ぎたことを申しますが Desugita koto wo moushimasu ga ขอโทษหากพูดตรงเกินไปนะครับ/คะ
申し上げにくいのですが Moushiage nikui no desu ga (เรื่องนี้ก็) พูดยากนะครับ แต่ว่า

  การเสนอความคิดเห็นในที่ประชุมหรือพูดแย้งความคิดเห็นของคนอื่น หากเราพูดว่า 

差し出がましいことを申すようですが 私は A プランよりこちらの B プランの方が良いと思います。なぜなら。。。」 

[Sashidegamashii koto wo mousu you desu ga, watashi wa A puran yori kochira no B puran no hou ga ii to omoimasu. Nazenara…..ขอโทษนะครับหากมีคำพูดที่ไม่เหมาะสม แต่ผมคิดว่าแผน B ดีกว่าแผน A ครับ เพราะว่า….] 

  การพูดขอโทษก่อนที่จะแสดงความคิดเห็น เป็นเหมือนกับการบอกอีกฝ่ายว่า เรารู้จุดยืนของตัวเองดีและเป็นการถ่ายทอดความอ่อนน้อมถ่อมตนของเรา ซึ่งจะทำให้ประโยคที่พูดออกไปไม่ดูห้วนสั้น หรือหยาบคายนั่นเอง 

ใช้ クッション言葉 ให้ถูก แล้วการสื่อสารจะง่ายขึ้น

  คำศัพท์ クッション言葉 สามารถใช้ได้หลากหลายสถานการณ์ เป็นคำศัพท์ที่ใช้เพื่อสื่อถึงการเคารพและคำนึงถึงผู้อื่น เป็นตัวช่วยที่จะทำให้การสนทนาราบรื่นขึ้น 

  การเข้าใจวิธีใช้ クッション言葉 ในสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้เราเอาตัวรอดในที่ทำงานได้ง่ายขึ้นมาก การปฏิเสธหรือโต้แย้งความคิดเห็นในที่ประชุมก็จะเป็นไปอย่างนุ่มนวลมากขึ้น ลดโอกาสกระทบกระทั่งกับเพื่อนร่วมงานได้มาก อีกทั้งยังทำให้เราดูเป็นคนมารยาทดี มีภาพลักษณ์ที่ดีในที่ทำงานอีกด้วย 

  ยังมีคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นและวัฒนธรรมดี ๆ ที่จะช่วยให้เราทำงานหรือใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นอีกมากมายให้เราได้เรียนรู้ ใครที่อยากรู้เรื่องราวของญี่ปุ่นทั้งเรื่องภาษา วัฒนธรรม และการใช้ชีวิต อย่าลืมติดตาม TPAeduways ในช่องทางอื่น ๆ ไว้ด้วยนะครับ ไว้พบกับใหม่ในเรื่องต่อไปครับ 

  สำหรับใครที่ต้องการติดตามข่าวสารญี่ปุ่น คอนเทนต์สนุก ๆ หรือโปรโมชั่นคอร์สเรียนต่าง ๆ ก็สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง 

หากสนใจการเรียนภาษาออนไลน์ สามารถดูคอร์สเรียนโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. ได้ที่ www.tpaeduways.com

Picture of jirapong.s
jirapong.s
มนุษย์ออฟฟิศที่สนใจการตลาด ชอบการเขียนบทความ มีใจให้กับการคิดคอนเทนต์ อินกับการดูแลเว็บไซต์ อยากพัฒนาความรู้เรื่อง SEO

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ เพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ต่อ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา อ่านรายละเอียด

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น กรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 20 ปีโปรดกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมที่นี่

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอม เราจะไม่สามารถนำเสนอสิทธิพิเศษ โปรโมชั่น และโฆษณาได้ตรงกับความสนใจของคุณ

  • ความยินยอมเพื่อส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ

    ความยินยอมให้สมาคมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้า เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งข่าวโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ หรือแจ้งข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งข่าวสารดังกล่าว หากไม่ยินยอม สมาคมอาจไม่สามารถส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมแก่ท่านได้

  • ความยินยอมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์

    เพื่อประเมินความพึงพอใจของท่านต่อการใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำความคิดเห็นของท่านไประมวลผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways ได้

  • ความยินยอมเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ

    เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจความต้องการใช้บริการต่าง ๆ ของสมาคม (customer needs) และเพื่อจัดทำฐานลูกค้าการตลาด รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่าน หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำข้อมูลของท่านไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่านได้

Save