โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

Category: วัฒนธรรมและสาระน่ารู้

ทุกคนที่เรียนภาษาญี่ปุ่นมาได้ประมาณหนึ่งจะรู้สึกได้ว่าภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่มีระดับความสุภาพที่ซับซ้อนมาก ภาษาญี่ปุ่นรูปสุภาพ หรือที่เรียกว่า 敬語 ( Keigo ) มีการแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ สำหรับใช้ในบริบทที่แตกต่างกัน ในบทความนี้จะมาแนะนำคำสุภาพภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวันจาก 4 สถานการณ์ที่เราจะได้พบเจอบ่อย ๆ ครับ
เวลาดูอานิเมะหรืออ่านมังงะก็อดรู้สึกไม่ได้ว่าชื่อภาษาญี่ปุ่นมันเท่เสียเหลือเกิน ในบางเรื่องก็มีการอธิบายถึงความหมายของชื่อตัวละคร ที่ทำให้รู้สึกว้าวเข้าไปใหญ่ คำไม่กี่คำมีความลึกซึ้งขนาดนั้นได้ยังไงกันนะ? 
ทำความรู้จัก 贅沢病 (Zeitakubyou) "โรคคนรวย" ชื่อของโรคในภาษาญี่ปุ่นที่น่าสนใจสำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นและผู้ที่สนใจประวัติศาสตร์ด้านสุขภาพและคำศัพท์โรคภาษาญี่ปุ่น
เมื่อพูดถึงช่วงวันก่อนสอบ วันเกิด วันแต่งงาน หรือวันปีใหม่ หรือวันเฉลิมฉลองอื่น ๆ คนไทยส่วนใหญ่ก็ต้องเคยได้ทานอาหารที่มีความเชื่อว่าเป็นอาหารมงคลหรืออาหารที่ช่วยให้สุขภาพดีกันมาบ้างแล้ว แต่รู้ไหมครับ ญี่ปุ่นเองก็มีอาหารนำโชคหรืออาหารมงคลเยอะมากเหมือนกัน หรืออาจจะมากกว่าไทยเสียอีก
ต่อให้ไม่ได้ไปเที่ยวญี่ปุ่นแต่ถ้าติดตามเพจหรือข่าวเกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น ยังไงก็ต้องเคยเห็นรูปหรือวิดีโอที่คนญี่ปุ่นเมานอนอยู่ข้างทางหรือในสถานีรถไฟผ่านตากันมาบ้าง ที่ญี่ปุ่นมีทั้งเบียร์ญี่ปุ่นและเหล้าญี่ปุ่นที่สายดื่มต้องรู้จัก และคนญี่ปุ่นเองก็มีความจริงจังกับการดื่มไม่น้อย รวมถึงมีวัฒนธรรมการดื่มที่เมื่อได้รู้แล้วก็ต้องร้องว้าว อะไรจะดื่มหนักขนาดนั้น แต่ในบทความนี้เราไม่ได้มาดูวัฒนธรรมการดื่ม แต่เราจะมาแนะนำ “เทคนิคการดื่มยังไงให้อร่อย แบบฉบับชาวญี่ปุ่น” 
“อูมามิ” เป็นคำที่ได้ยินบ่อย ๆ เวลาที่เราดูคอนเทนต์หรือรีวิวที่เกี่ยวกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารญี่ปุ่น แต่ว่ารสชาติที่แท้จริงของอูมามิคืออะไรกันล่ะ? ที่มาอูมามิคืออะไร และเราจะรู้ได้ยังไงว่านั่นคือรสอูมามิ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ “อูมามิ” กันครับ 
節分 (setsubun) เซ็ตสึบุน คือ เทศกาลญี่ปุ่นที่คนส่วนใหญ่จะจดจำได้ในภาพคนปาถั่วไล่ยักษ์พร้อมพูดว่า 「 鬼は外 福は内 (oni wa soto fuku wa uchi) 」 “ยักษ์ร้ายจงออกไป โชคลาภจงเข้ามา” แต่ความน่าสนใจของเทศกาลเซ็ตสึบุนไม่ได้มีแค่หน้ากากยักษ์กับถั่วเหลืองเท่านั้น ยังมีอาหารที่มีน่าทานและความหมายที่แท้จริงของเทศกาลเซ็ตสึบุนด้วยครับ
วันปีใหม่ของญี่ปุ่นเริ่มวันที่ 1 มกราคมของทุกปี และในสามวันแรกของปี (1 มกราคม ถึง 3 มกราคม) จะเรียกว่า 正月三が日 (shou gatsu san ga nichi) หรือ 三が日(san ga nichi) บริษัทและร้านค้าส่วนใหญ่จะปิดทำการและจัดกิจกรรมปีใหม่กันในช่วงเวลานี้ แล้วในวันปีใหม่คนญี่ปุ่นเตรียมตัวต้อนรับปีใหม่กันยังไง มีกิจกรรมอะไรช่วงปีใหม่บ้างมาดูกันเลย!
ใครที่เคยดูซีรีส์หรือหนังของญี่ปุ่นก็ต้องเคยเห็นฉากคนวัยทำงานทั้งเพศชายและหญิงสวมชุดสูทเดินสวนไปมาในฉากกันบ้าง และเวลาไปเที่ยวญี่ปุ่นเราก็ต้องได้เห็นคนสวมชุดสูทถือกระเป๋าเอกสารอยู่บนรถสาธารณะจำนวนมากเช่นกัน เมื่อเห็นแบบนี้บ่อย ๆ ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าคนญี่ปุ่นเขาสวมสูทไปทำงานทุกอาชีพเลยไหมนะ? ซึ่งแน่นอนว่า ‘ไม่’ เพราะพนักงานร้านสะดวกซื้อและร้านอาหารไม่ได้สวมชุดสูทเสียหน่อย
ในประเทศญี่ปุ่นมีตำนานและเรื่องเล่ามากมายที่สืบทอดต่อกันมาแต่โบราณ ไม่ต่างจากประเทศไทยที่มีเรื่องเล่าและความเชื่อที่ถ่ายทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น ทั้งในรูปแบบเล่าปากต่อปาก และแบบลายลักษณ์อักษร ในบทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับ 7 สิ่งห้ามทำในความเชื่อญี่ปุ่น พร้อมกับเหตุผลของแต่ละข้อห้าม

เราใช้คุกกี้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ต่อ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา อ่านรายละเอียด