โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ทำความรู้จัก เซ็ตสึบุน เทศกาลปาถั่วไล่ยักษ์!

  節分 (setsubun) เซ็ตสึบุน คือ เทศกาลญี่ปุ่นที่คนส่วนใหญ่จะจดจำได้ในภาพคนปาถั่วไล่ยักษ์พร้อมพูดว่า 鬼は は内oni wa soto fuku wa uchi ยักษ์ร้ายจงออกไป โชคลาภจงเข้ามา”

  แต่ความน่าสนใจของเทศกาลเซ็ตสึบุนไม่ได้มีแค่หน้ากากยักษ์กับถั่วเหลืองเท่านั้น ยังมีอาหารที่มีน่านและความหมายที่แท้จริงของเทศกาลเซ็ตสึบุด้วยครับ ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเทศกาลปาถั่ว เทศกาลญี่ปุ่นที่มีคนไม่น้อยที่เข้าใจผิดเทศกาลนี้ผิดกันครับ 

สารบัญเซ็ตสึบุน

เซ็ตสึบุน เทศกาลญี่ปุ่นที่มีภาพจำเด่นชัด

เทศกาลญี่ปุ่น เด็กวิ่งไล่ปาถั่วใส่ยักษ์

  เซ็ตสึบุ ถือว่าเป็นหนึ่งในเทศกาลที่เรามีโอกาสได้เห็นทั้งในการ์ตูนและภาพยนตร์ ถึงแม้ส่วนใหญ่จะเป็นฉากเด็กไล่ปาถั่วใส่คนสวมหน้ากากยักษ์ที่โผล่มาสั้น ๆ ก็ตาม แต่เพราะฉากแบบนั้นทำให้มันกลายเป็นภาพจำที่ทำคนต่างประเทศเข้าใจผิดว่า เซ็ตสึบุน คือเทศกาลสำหรับปาถั่ว จนบางคนก็ใช้เรียกแทนชื่อเทศกาลเซ็ตสึบุนไปเลยก็มี 

  อันที่จริงนอกจากการปาถั่วแล้ว อีกภาพจำที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิดก็คือ คิดว่าเซ็ตสึบุนคือเทศกาลที่จะมีเฉพาะในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เรื่องนี้คนญี่ปุ่นบางส่วนเองก็เข้าใจผิดเหมือนกันครับ เนื่องจากส่วนใหญ่เขาจะจัดเทศกาลเซ็ตสึบุนกันในช่วงนั้นเสมอ

  แต่ที่จริงแล้ว 節分 หมายถึง “การแบ่งฤดูกาล” หรือวันสุดท้ายของฤดูกาลนั่นเอง เนื่องจากญี่ปุ่นมีฤดูกาลอยู่ 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ดังนั้น “เซ็ตสึบุน” จึงมี 4 ครั้งต่อปีครับ  

แล้วทำไมคนญี่ปุ่นจึงนิยมจัดเทศกาลเซ็ตสึบุนช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์?

  คนญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนฤดูกาลจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูใบไม้ผลิเป็นพิเศษ เพราะถือเป็นการเริ่มต้นใหม่ ต้อนรับสิ่งดี ๆ เข้ามาในชีวิต ขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป หลังจากเอาชนะฤดูหนาวอันโหดร้ายมาได้นั่นเองครับ

  ดังนั้นเทศกาลเซ็ตสึบุนจึงนิยมจัดช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ นอกจากนี้ในช่วงวันแรกของฤดูใบไม้ผลิถือว่าเป็นวันแรกของการเริ่มต้นปีใหม่ในปฏิทินจันทรคติ 旧暦kyuureki จึงถือว่าเป็นวันมงคลอย่างยิ่งสำหรับการจัดเทศกาลเซ็ตสึบุนครับ

ที่มาและความเชื่อ

เทศกาลญี่ปุ่น เทศกาลเซ็ตสึบุน

  ต้นกำเนิดของเทศกาลเซ็ตสึบุนมาจากงานพิธีของจีนโบราณที่มีชื่อว่าซุยนะ 追儺 – ついな – tsuina มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า おにやらい – oniyarai」 

  ซุยนะ เป็นพิธีขับไล่วิญญาณชั่วร้ายด้วยลูกธนูและคันศรที่ทำจากไม้พีช โดยญี่ปุ่นได้รู้จักพิธีนี้ในสมัยนารา และได้ยอมรับให้เป็นหนึ่งในกิจกรรมในราชสำนักในสมัยเฮอัน ก่อนจะถูกยกเลิกไปในช่วงต้นยุคสมัยเอโดะ 

  แต่ก็ยังคงมีการสืบทอดประเพณีนี้ต่อกันมาเป็นเทศกาลเซ็ตสึบุน โดยจัดขึ้นตามศาลเจ้าและวัดต่าง ๆ รวมถึงในหมู่ชาวบ้านทั่วไปด้วย พร้อมกับความเชื่อที่ว่าในช่วงเปลี่ยนผ่านของฤดูกาลจะมีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายออกมาอาละวาด

  ความเชื่อและประเพณีนั้นได้ส่งต่อมาถึงปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นจึงยังคงจัดพิธีกรรมเพื่อขับไล่สิ่งชั่วร้ายออกไปและอัญเชิญสิ่งดี ๆ เข้าบ้าน ด้วยการขว้างถั่วพร้อมตะโกน鬼は外 福は内oni wa soto fuku wa uchi 」 “ยักษ์ร้ายจงออกไป โชคลาภจงเข้ามา”

ทำไมต้องปาถั่ว

เทศกาลญี่ปุ่น เซ็ตสึบุนในศาลเจ้า

  ถ้านึกถึง เซ็ตสึบุน จะต้องนึกถึง 豆まき – mamemaki หรือการปาถั่ว ที่เรียกได้ว่าเป็นกิจกรรมที่ขาดไม่ได้สำหรับเทศกาลนี้ เพราะคำว่า ถั่ว 豆 – mame ออกเสียงคล้ายกับคำว่า 魔滅 – まめつ – mametsu ที่แปลว่า “ทำลายปีศาจ” 

  ดังนั้นคนญี่ปุ่นจึงเชื่อกันว่าถั่วมีพลังในการไล่ภูติผีได้ เพราะอย่างนั้นการโยนถั่วจึงเป็นการทำพิธีเพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย ถึงแม้ในปัจจุบันการปาถั่วใส่คนสวมหน้ากากยักษ์จะกลายเป็นเหมือนการละเล่นสำหรับเด็ก ๆ ไปแล้วก็ตาม 

กิจกรรมสำคัญของเทศกาลเซ็ตสึบุน

ปาถั่ว 豆まき

  อย่างที่กล่าวไปข้างต้น กิจกรรมที่ขาดไม่ได้คือ ปาถั่ว ที่เป็นกิจกรรมหลักของเทศกาลนี้ โดยจะเริ่มจากนำถั่วเหลืองคั่วใส่ลงในชามแล้วนำไปถวาย แต่ถ้าไม่มีที่บูชา วิธีถวายแบบง่าย ๆ ของคนญี่ปุ่นก็คือการวางกระดาษขาวไว้เหนือระดับสายตา จากนั้นนำเกลือกับถั่วเหลืองคั่วไว้บนกระดาษ 

  มีความเชื่อกันว่าปีศาจจะมาในตอนกลางคืน ดังนั้นหลังจากถวายถั่วเรียบร้อยแล้ว ช่วงเวลาที่เหมาะกับการปาถั่วที่สุดจึงเป็นเวลากลางคืนครับ โดยปกติมักจะเริ่มจากห้องที่ไกลจากทางเข้าบ้านที่สุดก่อน โดยการปาเม็ดถั่วออกไปข้างนอกห้องพร้อมพูดว่า 「鬼は外 – oni wa soto – ยักษ์ร้ายจงออกไป」 แล้วปิดประตูหรือหน้าต่างทันทีเพื่อไม่ให้ปีศาจกลับเข้ามา 

  จากนั้นหันมาโยนถั่วเข้าห้องพร้อมพูดว่า 「福は内 – fuku wa uchi – โชคลาภจงเข้ามา」 เมื่อทำการโยนถั่วครบทุกห้องในบ้านแล้ว คนญี่ปุ่นก็จะทานถั่วจำนวนเท่ากับอายุบวก 1 ในขณะที่อธิษฐานขอให้มีสุขภาพดี เมื่อทำครบตามนี้แล้วก็แปลว่าเสร็จสิ้นกิจกรรมปาถั่ว 

เทศกาลญี่ปุ่น เซ็ตสึบุน ปาถั่วไล่ยักษ์ในครอบครัว

  พอลองอ่านวิธีการปาถั่วแล้วรู้สึกยุ่งยากแถมไม่สนุกด้วยใช่ไหมครับ ดังนั้นในยุคปัจจุบันเพื่อลดขั้นตอนต่าง ๆ ลง กิจกรรมปาถั่วจึงกลายเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวมาร่วมกันปาถั่วใส่ประตูหน้าบ้านหรือภายในบ้านพร้อมตะโกน “ยักษ์ร้ายจงออกไป โชคลาภจงเข้ามา” แทนครับ 

  หรือบางบ้านก็จะมีคนในครอบครัวสวมหน้ากากยักษ์มาให้เด็ก ๆ วิ่งไล่ปาถั่วใส่ เพื่อเพิ่มความสนุกสนานและสร้างบรรยากาศของเทศกาล อันที่จริงแม้แต่บางศาลเจ้าก็มีคนสวมชุดยักษ์เพื่อสร้างบรรยากาศให้กับงานเทศกาลด้วยเช่นกันครับ 

เอโฮมากิ 恵方巻き

  การทานเอโฮมากิ หรือ ซูชิโรลแบบยาว ในวันเซ็ตสึบุนกลายเป็นเรื่องต้องทำหากอยากจะโชคดี หรือสมหวังในความปรารถนา ถึงแม้แรกเริ่มเดิมทีความเชื่อในเรื่องการทานเอโฮมากิจะมาจากแผนการตลาดของผู้ผลิตสาหร่ายกับร้านขายซูชิในโอซาก้าก็ตาม แต่ตอนนี้ก็ได้กลายเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของเทศกาลเซ็ตสึบุนไปแล้วครับ 

  เอโฮมากิเป็นซูชิโรลที่มีขนาดหนาและใหญ่ เนื่องจากมีไส้ข้างในถึง 7 ชนิด ที่มีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าแห่งความโชคดีทั้ง 7 ว่ากันว่าลักษณะของเอโฮมากิมีความคล้ายกับไม้กระบองของปีศาจด้วย ดังนั้นการทานไม้กระบองของปีศาจก็เหมือนกับการทำลายความชั่วร้ายนั่นเองครับ

ส่วนผสมในเอโฮมากิและความหมาย

1. คัมเปียว (かんぴょう) – เนื่องจากมันมีรูปร่างแบนและยาวจึงใช้อธิษฐานขอให้มีชีวิตยืนยาวและพบเจอเนื้อคู่ 

2. เห็ดชิตาเกะ (しいたけ) – มีรูปร่างคล้ายร่ม จึงสื่อถึงการปกป้องจากสิ่งชั่วร้าย

เห็ดชิตาเกะ

3. ไข่หวานทามาโกะยากิ หรือไข่ม้วนดาเทะมากิ (卵焼き/伊達巻) – สีทองของไข่หมายถึงโชคลาภทางการเงิน และลักษณะการม้วนของไข่ม้วนมีความคล้ายม้วนกระดาษจึงใช้สื่อถึงการพัฒนาความรู้

ทามาโกะยากิ ไข่หวาน

4. ปลาไหล (うなぎ) – หมายถึงการเลื่อนขั้นในหน้าที่การงาน 

อุนากิ ปลาไหล

5. ผงปลาซากุระ (桜でんぶ) – สื่อถึงฤดูใบไม้ผลิที่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นฤกษ์มงคล 

ผงปลาซากุระ ซากุระเด็นบุ

6. แตงกวา (きゅうり)きゅう จากแตงกวาพ้องเสียงกับเลข 9 (きゅう) จึงหมายถึงการได้รับสิ่งดี ๆ 9 ประการ 

kyuuri แตงกวา

7. กุ้ง (海老) – หมายถึงการขอให้มีชีวิตยืนยาวจนหลังงอเหมือนกุ้ง

เอบิ กุ้ง
กฏการทานเอโฮมากิในเทศกาลเซ็ตสึบุน
  1. เชื่อกันว่าหากตัดเอโฮมากิด้วยมีดจะกลายเป็นการตัดโชคลาภไปด้วย ดังนั้นควรทานทั้งชิ้นโดยไม่ตัดแบ่งครับ 
  2. ในขณะที่ทานเอโฮมากิให้หันหน้าไปในทิศนำโชคประจำปีนั้น ๆ ซึ่งที่น่าสนใจคือ ทิศที่ต้องหันมันเปลี่ยนทุกปี และในปี 2025 ทิศนำโชคคือ ทิศตะวันตกเฉียงใต้ 
  3. ทานเอโฮมากิแบบเงียบ ๆ พร้อมอธิษฐานในใจ โดยไม่พูดอะไรจนกว่าเอโฮมากิจะหมด เมื่อทานหมดแล้ว คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าความปรารถนาที่ขอจะเป็นจริงในปีนั้น

  ในช่วงหลังมานี้ก็จะเริ่มเห็นเอโฮมากิใส่วัตถุดิบอื่น ๆ หรือบางชิ้นก็ใส่ไม่ครบทั้ง 7 อย่างด้วยนะครับ ส่วนเหตุผลนั้นคิดว่าอาจเป็นเพราะ ไม่ชอบ หรืออยากทานอย่างอื่นแทนบ้าง สำหรับบ้านที่ไม่เคร่งเรื่องพิธีการ การเปลี่ยนวัตถุดิบบ้างก็เป็นการเปลี่ยนบรรยากาศที่ดีครับ ถ้าต้องทานแบบเดิม ๆ ซ้ำ ๆ ทุกปีก็คงเบื่อแย่เลย

  สำหรับผู้ที่สนใจเรื่องน่ารู้ของประเทศญี่ปุ่นหรืออยากรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมการทำงานในประเทศญี่ปุ่นสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางด้านล่างเลยนะครับ

  สนใจการเรียนภาษาออนไลน์ สามารถดูคอร์สเรียนโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. ได้ที่ www.tpaeduways.com

Picture of jirapong.s
jirapong.s
มนุษย์ออฟฟิศที่สนใจการตลาด ชอบการเขียนบทความ มีใจให้กับการคิดคอนเทนต์ อินกับการดูแลเว็บไซต์ อยากพัฒนาความรู้เรื่อง SEO

แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ เพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ต่อ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา อ่านรายละเอียด

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น กรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 20 ปีโปรดกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมที่นี่

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอม เราจะไม่สามารถนำเสนอสิทธิพิเศษ โปรโมชั่น และโฆษณาได้ตรงกับความสนใจของคุณ

  • ความยินยอมเพื่อส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ

    ความยินยอมให้สมาคมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้า เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งข่าวโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ หรือแจ้งข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งข่าวสารดังกล่าว หากไม่ยินยอม สมาคมอาจไม่สามารถส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมแก่ท่านได้

  • ความยินยอมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์

    เพื่อประเมินความพึงพอใจของท่านต่อการใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำความคิดเห็นของท่านไประมวลผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways ได้

  • ความยินยอมเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ

    เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจความต้องการใช้บริการต่าง ๆ ของสมาคม (customer needs) และเพื่อจัดทำฐานลูกค้าการตลาด รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่าน หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำข้อมูลของท่านไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่านได้

Save