โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

Culture Shock! ขอบคุณ-ขอโทษ คำง่าย ใช้บ่อย แต่ลึกซึ้ง

คนญีปุ่น

หลายคนอาจจะแปลกใจเมื่อได้เห็นหัวข้อบทความวันนี้ แน่นอนว่ามันไม่ใช่คำยากหรือมีวิธีการใช้ที่พิสดารแต่อย่างใดคำทั้งสองคำนี้เป็นคำพื้นฐานที่ใช้กันบ่อยรองจากคำกล่าวทักทายก็ว่าได้ หากแต่วัฒนธรรมและความรู้สึกนึกคิดของคนทั้งสองประเทศแตกต่างกัน จึงมีบ่อยครั้งที่อาจจะใช้ผิดคำ ผิดโอกาสไปบ้าง 


เรามาเรียนรู้ความลึกซึ้งของภาษาญี่ปุ่นคำว่า “ขอบคุณ-ขอโทษ” ผ่านประสบการณ์การแลกเปลี่ยนกันเถอะ เชื่อเลยว่าทุกคนจะตกใจกับความแตกต่างอย่างแน่นอน แต่ก็เป็นเรื่องที่รู้แล้วไม่เสียหายอะไร เป็นผลดีเสียอีกจะได้เลือกใช้คำให้ถูกที่ ถูกสถานการณ์   


ก่อนอื่นขออธิบายคำศัพท์อย่างเป็นทางการก่อน

ขอบคุณ, ขอบพระคุณ  คำกล่าวแสดงความรู้สึกบุญคุณ (เป็นคำที่ใช้แก่บุคคลที่เสมอกัน หรือผู้น้อยใช้แก่ผู้ใหญ่)

ขอบใจ คำกล่าวแสดงความรู้สึกพอใจในความดีที่ผู้อื่นได้มีต่อตน (เป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้แก่ผู้น้อย)

ขอโทษ, ขอประทานโทษ ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อรู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินหรือต่ำสูงต่อผู้อื่น 

(ที่มา: พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕


ありがとう arigatou ขอบคุณ ขอบใจ 

ごめんなさい gomennasai ขอโทษ 

すみません sumimasen ขอโทษ ขอบคุณ* 

(ที่มา: พจนานุกรมญี่ปุ่น-ไทย 日・タイ辞典 สำนักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)


เมื่อมีใครทำอะไรให้ ชาวไทยก็จะกล่าวว่า “ขอบคุณ” ทุกครั้งไป เพราะเป็นการแสดงความรู้สึกเป็นบุญคุณกัน และเวลาทำอะไรให้ใครลำบากเดือดร้อน ก็จะกล่าวคำว่า “ขอโทษ” เสมอ ภาษาไทยมีวิธีใช้ตรงตามความหมายเพียงเท่านี้ จึงใช้ง่ายไม่ยุ่งยาก 


หลายครั้งก็ใช้คำว่า “ขอบคุณ” ในภาษาญี่ปุ่นด้วยความรู้สึกอย่างคนไทยโดยที่ไม่คิดเอะใจอะไร จนเมื่อผู้เขียนได้ไปใช้ชีวิตในญี่ปุ่น ได้คลุกคลีกับชาวญี่ปุ่น และได้รับประสบการณ์ตรงจากสถานการณ์ดังต่อไปนี้ 



สถานการณ์ที่ 1 : ระหว่างทางไปมหาวิทยาลัยโดยรถไฟ มีผู้ใหญ่ใจดีสละที่นั่งให้ผู้เขียนซึ่งถือสัมภาระเต็มมือ ผู้เขียนจึงรีบกล่าวขอบคุณตามความรู้สึกคนไทยว่า “ありがとうございます arigatou gozaimasu” 

ถัดจากวันนั้นไปไม่นานบนขบวนรถไฟสายเดียวกัน ผู้เขียนได้สละที่นั่งให้หญิงชราผู้หนึ่ง หญิงผู้นั้นกล่าวด้วยรอยยิ้มว่า “すみません sumimasen”  และหลังจากวันนั้นผู้เขียนก็ได้สังเกตว่าเวลาที่เราทำอะไรให้ใคร แทนที่เขาจะขอบคุณเราด้วยคำว่า “arigatou gozaimasu/ arigatou” ชาวญี่ปุ่นมักใช้ “sumimasen/ gomennasai” ทุกครั้ง


 ผู้เขียนจึงเข้าใจความรู้สึกของชาวญี่ปุ่นจากน้ำเสียงและกริยาอาการ เวลากล่าว “sumimasen/ gomennasai” ได้ว่า “ขอโทษนะที่ทำให้ลำบาก” 



สถานการณ์ที่ 2 : เพื่อนสนิทชาวญี่ปุ่นที่ได้ทราบข่าวการเสียชีวิตของคุณยายผู้เขียน ยื่นเงินทำบุญมาให้ ผู้เขียนจึงได้กล่าวแสดงความขอบคุณอย่างชาวไทยว่า “arigatou gozaimasu”

ทันใดนั้นเพื่อนคนดังกล่าวแสดงสีหน้าลำบากใจเล็กน้อยแล้วอธิบายให้ฟังว่า

“ในภาษาไทยอาจจะใช้คำว่า ขอบคุณ แต่คนญี่ปุ่นเวลารับเงินทำบุญงานศพหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในโอกาสที่ไม่เป็นมงคลเช่นนี้ เราจะไม่พูด ขอบคุณ เพราะจะเป็นการแสดงความรู้สึกยินดี แต่เราจะพูดว่า “いただきます itadakimasu” ซึ่งแปลได้ว่า “ขอรับไว้นะ” แทน“ 


จากประสบการณ์ดังกล่าวนอกจากจะทำให้ได้เข้าใจวิธีใช้คำกล่าว “ขอบคุณ” และ “ขอโทษ” ในภาษาญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังทำให้ได้เข้าใจถึงวัฒนธรรม ความรู้สึกนึกคิดที่แตกต่างกันระหว่างชาวไทยและชาวญี่ปุ่นอีกด้วยว่าชาวญี่ปุ่นจะคำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่นก่อนเสมอ


แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราชาวไทยจะไม่นึกถึงผู้อื่นแต่อย่างใดนะคะ เพียงแต่เรามีความรู้สึกนึกคิดและลักษณะนิสัยที่จริงใจ ไม่ซับซ้อน คิดอย่างไรก็พูดออกไปตรงๆ อย่างนั้นเท่านั้นเอง อย่างไรก็อย่าลืมนำคำทั้งสองคำนี้ไปใช้ให้ถูกโอกาสและสถานการณ์กันนะคะ  


สำหรับใครที่ต้องการติดตามข่าวสารญี่ปุ่น คอนเทนต์สนุก ๆ เรื่องเล่าต่าง ๆ หรือโปรโมชั่นของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ก็สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง 

Facebook : School of Language and Culture (SLC) 

Instagram : tpaacademy29 

TikTok : tpaacademy 

Twitter : @TPAeduways 

Youtube : TPA Official 


หากสนใจการเรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ สามารถดูคอร์สเรียนโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม ส.ส.ท. ได้ที่ www.tpaeduways.com  


แชร์บทความนี้

บทความอื่นๆ เพิ่มเติม

เราใช้คุกกี้ในการพัฒนาเว็บไซต์ให้ท่านได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด หากท่านใช้บริการเว็บไซต์ต่อ เราเข้าใจว่าท่านยินยอมที่จะรับคุกกี้บนเว็บไซต์ของเรา อ่านรายละเอียด

PDPA Icon

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น กรณีที่ท่านอายุต่ำกว่า 20 ปีโปรดกรอกแบบฟอร์มเพิ่มเติมที่นี่

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาให้ตรงกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอม เราจะไม่สามารถนำเสนอสิทธิพิเศษ โปรโมชั่น และโฆษณาได้ตรงกับความสนใจของคุณ

  • ความยินยอมเพื่อส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ

    ความยินยอมให้สมาคมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้า เพื่อประชาสัมพันธ์ ส่งข่าวโปรโมชั่น สิทธิพิเศษ หรือแจ้งข่าวสารหรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริการของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคม รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของข้าพเจ้าให้กับฝ่ายหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมเพื่อการประชาสัมพันธ์หรือแจ้งข่าวสารดังกล่าว หากไม่ยินยอม สมาคมอาจไม่สามารถส่งข่าวสาร ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับบริการต่าง ๆ ของฝ่ายโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมหรือหน่วยงานอื่นของสมาคมแก่ท่านได้

  • ความยินยอมเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์

    เพื่อประเมินความพึงพอใจของท่านต่อการใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำความคิดเห็นของท่านไประมวลผลเพื่อปรับปรุงและพัฒนาประสบการณ์การใช้บริการเว็บไซต์ TPA Eduways ได้

  • ความยินยอมเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ

    เพื่อวัตถุประสงค์ในการสำรวจความต้องการใช้บริการต่าง ๆ ของสมาคม (customer needs) และเพื่อจัดทำฐานลูกค้าการตลาด รวมทั้งการวิเคราะห์เพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่าน หากไม่ยินยอม สมาคมจะไม่สามารถนำข้อมูลของท่านไปประมวลผลเพื่อนำไปสู่การนำเสนอบริการต่าง ๆ ที่สมาคมเห็นว่าเหมาะสมกับท่านได้

Save